ระบบสี RGB (Red , Green , Blue) ใช้ในการแสดงผลภาพดิจิตอลบนจอต่าง ๆ โดยการเริ่มจากสีดำคือไม่มีแสง แล้วใช้สีทั้ง 3 สีนี้ ผสมกันในอัตราส่วนที่ต่างกันเพื่อให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ ส่วนสีขาวคือการยิงแสงทั้ง 3 สีนี้ในความเข้มสูงสุด
ระบบสี RGB ถูกใช้งานในอุปกรณ์แสดงผลภาพทั้งหลาย มันใช้เลียนแบบการมองเห็นจากสายตามนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น กล้องดิจิตอล สร้างภาพขึ้นมาเลียนแบบภาพที่ตาเราเห็น โดยการวัดปริมาณของแสงสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ที่สะท้อนจากวัตถุเขามายังเซ็นเซอร์ในขณะถ่ายภาพ ในขณะเดียวกันจอภาพแสดงภาพโดยการยิงแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน ในปริมาณต่าง ๆ เพื่อให้เรามองเห็นภาพนั้น
ความแตกต่างระหว่าง RGB กับ sRGB
เมื่อมนุษย์ได้สร้างระบบสี RGB ขี้นมา มันถูกใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย สีที่แสดงในอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง อาจจะไม่เหมือนกับอีกอุปกรณ์หนึ่ง จึงจำเป็นต้องกำหนดค่าของสี RGB ขึ้นมาเพื่อนำไปแสดงผลในอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ถูกต้อง ทำให้สีออกมาเหมือนกัน ซึ่งมันก็คือการกำหนดมาตรฐาน sRGB ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
มาตรฐานโปรไฟล์สี sRGB กลายเป็นมาตรฐานที่จอแสดงภาพต่าง ๆ เช่น จอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเพื่อเป็นการอ้างอิงสีให้เหมือนกันในทุกอุปกรณ์
อย่างไรก็ตาม จำนวนสีใน sRGB ยังไม่มากพอ ภาพกราฟฟิกระบบสีอื่นที่แปลงมาเป็น sRGB อาจจะสูญสีค่าสีไปบางส่วน
RGB คือการแสดงสีบนจอภาพ CMY ก็คือการแสดงสีที่พิมพ์บนกระดาษ สี CMY เริ่มจากสีขาว เพราะต้องพิมพ์ลงบนกระดาษ หมึกที่พิมพ์ลงบนกระดาษจะไปปิดกั้นไม่ให้แสงบางสีสะท้อนกลับออกมามากน้อยต่างกัน เกิดเป็นสีต่าง ๆ ที่เรามองเห็น
CMY เป็นจากการที่จะไม่เอาสี RGB
เมื่อลดสีแดง (R) ลงจนหมด จะเป็นสีฟ้า (Cyan)
เมื่อลดสีเขียว (G) ลงจนหมดจะเป็นสีม่วงแดง (Magenta)
เมื่อลดสีน้ำเงิน (B) ลงจนหมดจะเป็นสีเหลือง (Yellow)
CMY ควรจะแสดงสีได้ครบตามทฤษฎี แต่ความเป็นจริงแล้ว หมึก CMY ผสมกันแล้วยังไม่สามารถให้สีดำสนิทได้ จึงมีการใช้หมึกสีดำแท้ ๆ เติมลงไป มันควรจะกลายเป็น CMYB แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน Black กับ Blue จึงใช้อักษรเป็น K (Key) จึงกลายมาเป็นระบบ CMYK นั่นเอง
RGB และ CMYK ที่ใช้อ้างอิงกันในแต่ละอุปกรณ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละอุปกรณ์ว่าจะแสดงสีได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจอภาพ 2 จอภาพ ไม่สามารถแสดงผลสีได้เหมือนกันเป๊ะ เครื่องพิมพ์ 2 เครื่อง ก็ไม่สามารถพิมพ์ภาพที่สีเหมือนกันเป๊ะได้ เนื่องจากมีตัวแปรมากมายในกระบวนการพิมพ์ ทั้งชุดคำสั่งผสมสี CMYK ของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่อง การดูดซับของพื้นผิว ขนาดของจุดสีที่หยดลงไป การเกาะกันของน้ำหมึกแต่ละชั้น และคุณภาพของหมึกแต่ละชนิด เหล่านี้มันทำให้การพิมพ์แต่ละครั้ง แต่ละเครื่องเกิดความผิดเพี้ยนของสีได้
ประโยชน์ของการพิมพ์คือ สีนั้นมันจะติดอยู่กับสื่อสิ่งพิมพ์ไปตลอด อย่างไรก็ตามบางสีนั้น CMYK ไม่สามารถพิมพ์ให้เหมือนได้เป๊ะ การพิมพ์ทั่ว ๆ ไป CMYK นั้นให้สีแค่ 55% ของระบบสี PMS ของ Pantone เท่านั้น
จึงมีการเพิ่มสีที่ 5 , 6 และ 7 สีลงไปใน CMYK เพื่อขยายขอบเขตของสีที่จะสามารถพิมพ์ได้ แต่ก็ได้ประมาณ 90% ของ PMS เท่านั้น ทาง Pantone ได้เพิ่มสีส้ม O, เขียว G, ม่วง V ลงไปใน CMYK กลายเป็นระบบที่ใช้แม่สี CMYKOGV กลายเป็นไกด์สี Pantone Extended Gamut เพื่อให้สามารถแสดงจำนวนสีให้ได้ใกล้เคียงกับ PMS มากที่สุด
สีพิเศษ เป็นสีที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้ในการพิมพ์ที่ไม่ใช่การจุดสี เรียกว่าสีสปอตหรือสีโซลิด (spot / solid) เป็นสีที่ถูกผสมขึ้นมาเฉพาะ ทำให้มันเนียนตา สีสดใสกว่าสี CMYK ซึ่งทำให้มันเหมาะกับการออกแบบเครื่องหมายการค้า และโปรแกรมออกแบบต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้เกิดความผิดเพี้ยนของสี
การใช้สีสปอตไม่เพียงแต่เพิ่มช่วงของสีที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังให้สีสดใสกว่า และสีสปอตของ Pantone ก็เป็นสีที่นิยมใช้กันมากทั่วโลก
การพิมพ์สีสปอตของ Pantone แต่ละสีจะมีเลขรหัสสีเฉพาะ และผสมหมึกสี 18 สีพื้นฐานตามสูตรของ Pantone โดยผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ความแม่นยำสูง สีที่ได้จึงเป็นสีเฉพาะ โด่ดเด่นไม่ซ้ำใครเมื่อไปอยู่บนสื่อต่าง ๆ
การจะเลือกใช้ไกด์สี ต้องพิจารณาว่าจะเลือกงานของเรา
PANTONE COLOR BRIDGE เป็นไกด์สีที่จะแสดงสีสปอตเปรียบเทียบกับสี CMYK ที่ใกล้เคียงที่สุด พร้อมบอกค่าสี CMYK , RGB , HTML ด้วย เหมาะสำหรับงานที่ออกแบบในโปรแกรมแล้วต้องการตรวจสอบความแตกต่าง หรือเปรียบเทียบสีระหว่างสี Pantone solid กับ CMYK , RGB , HTML
PANTONE FORMULA GUIDE เป็นไกด์สีที่นิยมมากที่สุด แสดงตัวอย่างสีสปอตเบอร์ Pantone เหมาะสำหรับงานออกแบบกราฟฟิค โรงพิมพ์ บรรจุภัณฑ์
Ref. Pantone.com